ความพอเพียง
หมายถึงความพอประมาณอย่างมีเหตุผลโดยสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรเพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีโดยอาศัยความรอบรู้รอบคอบและความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้สำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรความมีสติปัญญาและความรอบคอบมีเหตุผลโดยที่ความพอประมาณนั้นหมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณความมีเหตุผลหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษานั้น
จะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้
และปลูกฝังสิ่งต่างๆ ให้แก่เด็ก ดังนั้นจึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อครูเข้าใจครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้ ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอ ครูจะต้องรู้จักพอก่อนโดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆที่เข้ามา รู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ หมั่นศึกษา เพิ่มพูนความรู้ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ก้าวกระโดด ในการเลือกรับข้อมูลนั้น ต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา จะได้รู้จักและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆ ได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
เป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน คือ การทำให้เด็กรู้จักความพอเพียง ปลูกฝังอบรม บ่มเพาะให้เด็กมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมโดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสาระเรียนรู้ต่างๆ เพื่อสอนให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุลตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ รู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปันมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่านิยม ความเป็นไทยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลกการกระทำของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วยซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น
สำคัญคือครูจะต้องรู้จักบูรณาการการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนเห็นถึงความเชื่อมโยงในมิติต่างๆทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งความเป็นองค์รวมนี้จะเกิดขึ้นได้ครูต้องโดยใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน
นอกจากนี้ ในการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาฯไปใช้ในสถานศึกษาต่างๆ นั้นอาจจะใช้วิธี “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ตามหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าสำคัญที่สุดครูต้องเข้าใจเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนโดยเข้าใจว่าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นแนวคิดที่สามารถเริ่มต้นและปลูกฝังได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน เช่น กิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การกำจัดขยะในโรงเรียนการสำรวจทรัพยากรของชุมชนฯลฯ
ก่อนอื่น ครูต้องเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีโดยกลับมาพิจารณาและวิเคราะห์ดูว่า ในตัวครูนั้นมีความไม่พอเพียงในด้านใดบ้างเพราะการวิเคราะห์ปัญหาจะทำให้รู้และเข้าใจปัญหา ที่เกิดจากความไม่พอเพียงรวมทั้งควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาด้วยโดยการวิเคราะห์นี้ต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม โดยเฉพาะคุณธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นในใจเด็กให้ได้ก่อน ผ่านกิจกรรมที่ครูเป็นผู้คิดขึ้นมาโดยครูในแต่ละโรงเรียนจะต้องมานั่งพิจารณาก่อนว่าจะเริ่มต้นปลูกฝังแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากจุดไหน ทุกคนควรมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำสามัคคีกันในกระบวนการหารือหลังจากที่ครูได้ค้นหากิจกรรมที่จะปลูกฝังแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วครูควรจะต้องตั้งเป้าหมายการสอนก่อนว่าครูจะสอนเด็กให้รู้จักพัฒนาตนเองได้อย่างไรโดยอาจเริ่มต้นสอนจากกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถเริ่มต้นจากตัวเด็กแต่ละคนให้ได้ก่อน เช่นการเก็บขยะ การประหยัดพลังงาน ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยที่ตนเองมีต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกในด้านต่างๆ 4 มิติ
ในส่วนของการเข้าถึงนั้น เมื่อครูเข้าใจแล้ว ครูต้องคิดหาวิธีที่จะเข้าถึงเด็กพิจารณาดูก่อนว่าจะสอดแทรกกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เข้าไปในวิธีคิดและในวิชาการต่างๆได้อย่างไร ทั้งนี้ อาจจัดกิจกรรมกลุ่มให้นักเรียนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำรู้จักแบ่งหน้าที่กันตามความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงชั้น เช่นในกิจกรรมการเก็บขยะเพื่อรักษาความสะอาดของโรงเรียนนั้นครูอาจจัดกิจกรรมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1สร้างกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กช่วยกันเก็บขยะ (ให้เด็กรู้หน้าที่ของตน ในระดับบุคคล)/ ช่วงชั้นที่ 2 สร้างกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กช่วยกันเก็บขยะและนับขยะ(ให้รู้จักการวิเคราะห์และรู้ถึงความเชื่อมโยงของตนเองกับสมาชิกคนอื่นๆ ในโรงเรียน)/ ช่วงชั้นที่ 3 สร้างกิจกรรมที่สอนให้เด็กรู้จักเชื่อมโยงกับชุมชนภายนอกรอบๆ โรงเรียนเช่น สร้างกิจกรรมที่สอนให้เด็กรู้จักแบ่งแยกขยะ ร่วมมือกับชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่โรงเรียนและชุมชนของเขาตั้งอยู่ด้วย
กิจกรรมทั้งหมดนี้สำคัญคือต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายโดยสถานศึกษาควรตั้งเป้าให้เกิดการจัดการศึกษาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงสอดแทรกเข้าไปในกระบวนการเรียนรู้ สอนให้เด็กพึ่งตนเองให้ได้ก่อนจนสามารถเป็นที่พึ่งของคนอื่นๆ ในสังคมได้ต่อไป
การจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงการจัดการศึกษาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถดำเนินการได้ใน 2 ส่วนส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และส่วนที่เป็นการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งส่วนที่ 2 นี้ประกอบด้วย การสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตรและสาระเรียนรู้ในห้องเรียนและประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในระยะแรกได้เริ่มจากการไปค้นหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณลักษณะและการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือพอประมาณกับศักยภาพของนักเรียนพอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและชุมชนที่ตั้ง เช่น เด็กช่วงชั้นที่ 2 ทำสหกรณ์ได้เด็กช่วงชั้นที่ 4 ดูแลสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวังฝึกให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีวินัย มีสัมมาคารวะปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ สอนให้ผู้เรียนยึดมั่นในหลักศีลธรรม พัฒนาคนให้เขารู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคมและช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
และตัวกิจกรรมเองก็ต้องยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ ถึงจะเปลี่ยนผู้อำนวยการแต่กิจกรรมก็ยังดำเนินอยู่ อย่างนี้เรียกว่า มีภูมิคุ้มกัน(ความรู้)(คุณธรรม)
การค้นหาตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ก็เพื่อให้มีตัวอย่างรูปธรรมในการสร้างความเข้าใจภายในวงการศึกษาว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่าอย่างไรและสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง หลังจากนั้นก็ส่งเสริมให้บูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้ เข้าไปในการเรียนรู้สาระต่างๆบูรณาการเข้ากับทุกสาระเรียนรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้เกิดสมดุลทางสิ่งแวดล้อมบูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนการคำนวณที่มีความหมายในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงหรือบูรณาการเข้ากับสาระภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา การงานอาชีพ เทคโนโลยีต่างๆได้หมด นอกเหนือจากการสอนในสาระหลักคือในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เท่านั้น
สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้
มีวัตถุประสงค์ให้ทุกช่วงชั้นเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ได้แต่ถ้ามาตรฐานเรียนรู้ของทุกช่วงชั้นเหมือนกันหมดก็จะมีปัญหาทางปฏิบัติจึงต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในการเรียนการสอนของแต่ละช่วงชั้น และแต่ละชั้นปี ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 เน้นให้เด็กพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่นประถม 1 ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน จัดหนังสือไปเรียนเองแบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน กินอาหารให้หมดจาน ประถม 2 วิเคราะห์รายจ่ายของครอบครัวจะมีเป็นตารางกรอกค่าใช้จ่ายต่างๆ ของครอบครัว คุณแม่ซื้ออะไรบ้าง คุณพ่อซื้ออะไรบ้างเด็กจะได้รู้ว่าพ่อแม่หาเงินมายากแค่ไหน เช่น ยาสีฟันหลอดละ 46 บาท จะต้องไม่เอามาบีบเล่นจะต้องสอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกนิสัยประหยัดครอบครัวมีรายได้และรายจ่ายเท่าไร เด็กจะได้ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียง มีหลายโรงเรียนทำแล้วประถม 3 สอนให้รู้จักช่วยเหลือครอบครัวอย่างพอเพียง และรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นมีส่วนร่วมสร้างครอบครัวพอเพียง(คุณธรรม)
ช่วงชั้นที่ 2 ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียนสามารถวิเคราะห์วางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพมีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียน และชุมชนใกล้ตัวโดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาวัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆมาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
ช่วงชั้นที่ 3 ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่างๆ และในมิติต่างๆ ทั้งทางวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการจัดการชุมชนและในที่สุดแล้วสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคนจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด
ช่วงชั้นที่ 4 เตรียมคนให้เป็นคนที่ดีต่อประเทศชาติสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ต้องเริ่ม
เข้าใจความพอเพียงระดับประเทศ และการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์เช่น การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ หรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมสภาพปัญหาด้านสังคมเป็นอย่างไร แตกแยกหรือสามัคคี เป็นต้น
ขณะนี้คณะทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาและเยาวชน ทำงานร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการและอีกหลายหน่วยงาน วิสัยทัศน์ของการขับเคลื่อน คือ สานเครือข่าย ขยายความรู้ควบคู่ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาฯ และให้บุคลากรด้านการศึกษาสามารถนำหลักคิดหลักปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของทุกระดับได้อย่างถูกต้องชัดเจน และเป็นรูปธรรม ตลอดจนผู้บริหารสามารถนำหลักปรัชญาฯไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุข
หมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณการประกอบอาหารต้องมีความพอประมาณควรใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายและส่วนผสมควรปรุงในปริมาณที่พอดีโดยใช้พืชผักสวนครัวที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เพื่อจะได้ช่วยลดต้นทุนในการประกอบอาหารและจะต้องทำอาหารในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของผู้ที่จะรับประทาน
ความมีเหตุผล
หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆอย่างรอบคอบด้านความมีเหตุผลเราจะต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าและควรศึกษาว่าวัตถุดิบที่เราต้องการมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนกับอาหารที่เราจะทำเพื่อป้องกันการผิดพลาดในการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ไม่จำเป็นซึ่งจะทำให้สูญเสียต้นทุนในการผลิตการมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกลการประกอบอาหารแต่ละครั้งจะทำให้เราเกิดความชำนาญในการทำอาหารเมื่อเกิดปัญหาระหว่างการประกอบอาหารเราสามารถแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีหากเรามีการเตรียมตัวที่ดีการประกอบอาหารแต่ละครั้งก็จะได้ผลดีตามมาอีกด้วย
เงื่อนไข
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานหลัก
- เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
-เงื่อนไขการรอบรู้ คือประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบการปรุงอาหารและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารในทุกๆด้านในการประกอบอาหารแต่ละขั้นตอนต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบนำหลักการต่างๆมาเชื่อมโยงกับวิธีการประกอบอาหารอย่างเป็นระบบและดำเนินงานตามขั้นตอนด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
- เงื่อนไขคุณธรรม
ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทนมีความเพียรพยายาม ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
- เงื่อนไขการซื่อสัตย์ มีความซื่อสัตย์สุจริตในการทำอาหารโดยการผลิตอาหารที่สะอาดและปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นการประกอบอาหารนั้นต้องใช้ความขยันอดทนในการรออาหารให้สุกหรือให้ได้รสชาติที่ดีมีสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาระหว่างการประกอบอาหารได้ดีแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับวิธีการประกอบอาหารให้แก่ผู้อื่นเราถ้าเราประกอบอาหารเพื่อขายแต่เราขายไม่หมดก็ควรแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่ไม่มีเงินซื้อหรือผู้ที่ขาดแคลนอาหารมากกว่าเรา
การบูรณาการการประกอบอาหารกับหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง
1. เหตุผล
- จุดประสงค์ เราสื่อเพื่อให้รู้ถึงวิธีการประกอบอาหารโดยใช้วิธีการต่างๆ ข้อดีข้อเสียของการประกอบอาหารแต่ละวิธี การเลือกซื้อวัตถุดิบที่สะอาด ถูกหลักอนามัย เพื่อนำมาใช้ประกอบอาหาร ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการประกอบอาหารแต่ละวิธีได้อย่างถูกต้องรวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- ความรู้
ด้านส่วนประกอบ จะฝึกให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ดี ถูกหลักอนามัย เพื่อนำมาใช้ประกอบอาหารรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการประกอบอาหาร
ด้านขั้นตอน จะให้ผู้เรียนศึกษาถึงวิธีการ ขั้นตอนในการประกอบอาหารแต่ละวิธี เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ประกอบอาหารแต่ละวิธีได้อย่างถูกต้อง โดยที่คุณค่าทางอาหารไม่ลดน้อยลง
ด้านผลลัพธ์ เราจะได้อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน สะอาดถูกหลักอนามัย และทำให้เด็กมีนิสัยรักการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
2. พอประมาณ
- จุดประสงค์ การประกอบอาหารจะต้องทำตามกระบวนการที่กำหนดเพื่อที่จะได้ผลตามที่ต้องการโดยการทำนั้น ต้องเป็นไปอย่ามีขั้นตอนและมีองค์ประกอบที่จะทำให้การประกอบอาหารได้ผลดีและมีมาตรฐาน ส่วนการทำงานเป็นกลุ่มนั้นอาจจะเกิดปัญหาในการทำงานดั้งนั้นจึงต้องมีการวางแผน ในการทำงานและทำด้วยความรอบคอบ จะได้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ต้นทุน ในการประกอบอาหารเราต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้รับว่ามีมากน้อยแค่ไหน แล้ววัตถุดิบที่ใช้มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด เราควรทำมาให้พอดีกับความต้องการไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
- ความพอประมาณของการประกอบอาหารแต่ละประเภท
1. อาหารจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าวิธีการทอด
2. การนึ่งจะช่วยสงวนคุณค่าอาหารได้ดีกว่าการต้มและวิธีการหุงต้มอื่นๆเพราะสารอาหารไม่ละลายไปกับน้ำแต่ควรปิดฝาหม้อนึ่งให้สนิท
3. การทอดทำให้อาหารกรอบ รสชาติอร่อย
4. การปิ้ง ย่าง เผา หรืออบ เป็นวิธีการประกอบอาหารที่สงวนคุณค่าไว้ได้มาก
5. การต้มเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับใช้เคี่ยวเนื้อสัตว์ให้เปื่อย เช่นเครื่องในต้ม
6. เหมาะสำหรับการประกอบอาหารประเภทผัก เพราะจะช่วยสงวนคุณค่าอาหารไว้ได้มาก
7. การต้มเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับใช้เคี่ยวเนื้อสัตว์ให้เปื่อย เช่นเครื่องในต้ม
3. ภูมิคุ้มกัน
ในการประกอบอาหารเราอาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จะทำให้เรารู้จักหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้องเมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจมีเหตุผลและมีความพอประมาณในเรื่องนี้แล้ว เราจะสามารถเลือกวิธีการประกอบอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์มากที่สุด
สรุป
ถ้าเรารู้จักเลือกวัตถุดิบที่ดีและสัดส่วนที่เหมาะสมในการประกอบอาหารแต่ละวิธี รวมถึงการปรุงรสที่พอเหมาะ ทำตามความต้องการ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป จะทำให้เราได้อาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย มีคุณค่าตามโภชนาการ รสชาติที่ดี เมื่อเราได้รับความรู้ จากตรงนี้ไป จะทำให้เรารู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสามารถประกอบอาหารด้วยวิธีต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง